หลายคนอาจจะคุ้นเคยว่า ชนชาติที่มีอายุขัยเฉลี่ยบืนยาวที่สุดในโลก คือ ชาวญี่ปุ่น แต่งานวิจัยที่จัดทำขึ้นโดยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน และองค์การอนามัยโลก และเพิ่งเผยแพร่ในวารสาร The Lancet แสดงให้เห็นว่า หญิงเกาหลีใต้ที่เกิดตั้งแต่ปี 2030 จะเป็นคนกลุ่มแรกในโลกที่มีอายุยืนยาวเฉลี่ยเกิน 90 ปี

ขณะที่อีก 6 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี และสหราชอาณาจักร อายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิงก็น้อยกว่าไม่มากนัก คืออยู่ที่ประมาณ 85 ปี

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนวิเคราะห์ว่า สิ่งที่ทำให้สาวเกาหลีมีอายุขัยยืนยาวนั้นน่าจะมาจากอาหาร โดยเฉพาะ “กิมจิ” อาหารที่ทำจากการนำผักมาดอง รสชาติเค็มและเผ็ด โดยส่วนใหญ่แล้วใช้ผักกาด

กิมจิเป็นอาหารดองที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติกส์ วิตามินเอและบี นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแลคโตบาซิลลีจำนวนมาก ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีที่พบในโยเกิร์ตและทางเดินอาหาร

อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่กิมจิอย่างเดียวเท่านั้นที่ทำให้อายุยืนยาวขึ้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกไม่ว่าจะเป็นระบบการดูแลสุขภาพอันยอดเยี่ยมของเกาหลี, การพัฒนาการศึกษาด้านโภชนาการ, การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสภาพสังคม, อัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่ลดลง ก็ล้วนช่วยลดอัตราการตายได้ แต่การกินอาหารที่ประกอบด้วยกิมจิ, ข้าว และปลา ก็ดูเหมือนจะเสริมได้นั่นเอง


Content Team Matichon Academy
ติดต่อ อีเมล์ : [email protected]
โทรศัพท์ 0-2954-3971 ต่อ 2111

ถ้าหากลองจินตนาการว่าคุณอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ภาพที่คุณเห็นในใจคืออะไร?

ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในห้องเล็กๆ ในเมืองใหญ่ การสัญจรในตอนเช้าโดยรถไฟใต้ดินที่บางครั้งก็อัดแน่นไปด้วยผู้คนจนแทบจะไม่มีที่ยืน การทำงานล่วงเวลาเลยเที่ยงคืนที่ดูเป็นเรื่องปกติ และอาจนึกถึงผู้คนที่สูบบุหรี่เพื่อคลายเครียด

ความจริงคือ ภาพที่คุณเห็นเหล่านี้ก็ไม่ผิดนัก ในการสำรวจที่ตีพิมพ์ในประกาศของกรมงานแรงงานและสวัสดิการโดยกระทรวงสาธารณสุขของประเทศญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าผู้ชายวัยทำงานกว่าร้อยละ 40 “นอนไม่หลับ” เนื่องจากมีความเครียดจากที่ทำงาน และจำนวนผู้สูบบุหรี่ในญี่ปุ่นมีสูงกว่าประเทศอื่นมาก ซึ่งนับเป็นผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำนวนกว่าหนึ่งในสามสูบบุหรี่

คงเป็นเรื่องยากที่จะมีผู้เชี่ยวชาญท่านใดบอกว่าความเครียดในระดับสูง การสูบบุหรี่จัด และนอนไม่เพียงพอนั้นเป็นพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพดี แต่กระนั้นก็ตาม ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) อายุขัยเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นอยู่ที่ 83.7 ปี เท่ากับว่าคนญี่ปุ่นมีอายุขัยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก

แม้ว่าการจะอธิบายว่าสิ่งนี้คือความจริงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย สาเหตุหลักที่คนญี่ปุ่นมีอายุขัยที่ยืนยาวกว่าประเทศอื่นๆ นั้นเชื่อว่าเป็นเพราะ “พฤติกรรมการเดิน” ร่วมกับอาหารที่คนญี่ปุ่นเลือกรับประทาน ตามรายงานอีกฉบับขององค์การอนามัยโลกพบว่า เด็กนักเรียนในญี่ปุ่นร้อยละ 98 เดินหรือขี่จักรยานไปโรงเรียนทุกวัน นั่นหมายถึงเพียงแค่เดินทางไปโรงเรียน ก็เท่ากับว่าได้ออกกำลังกายเฉลี่ย 60 นาทีต่อวันแล้ว และเมื่อพิจารณาถึงอาหารและเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มรับประทานอาหารที่ให้พลังงานน้อยกว่า รับประทานผักมากกว่า และรับประทานของหวานน้อยกว่า เมื่อคิดเป็นต่อวัน

อายุที่ยืนยาว ดีสำหรับผู้คน แต่เป็นสิ่งท้าทายสำหรับประเทศชาติ

ทุกคนต้องการมีชีวิตที่ยืนยาว แต่การทำให้ความต้องการนี้เกิดขึ้นจริงนั้น ถือเป็นความท้าทายอันใหญ่หลวงสำหรับประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศ ขณะที่ตัวเลขผู้สูงอายุในญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จำนวนประชากรโดยรวมนั้นกลับลดลง ทำให้มีการคาดหมายว่า ในปี พ.ศ. 2593 จำนวนร้อยละของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งนี่แสดงถึงความท้าทายที่ประเทศต้องเผชิญอย่างเห็นได้ชัด โดยรวมถึงการสูญเสียประสิทธิภาพในที่ทำงานเนื่องจากผู้คนจำนวนมากต้องการเกษียณอายุในท้ายที่สุด และทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุพุ่งพรวดขึ้น

นี่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นหันมามุ่งความสนใจและให้ความสำคัญกับการมีอายุยืนยาวที่สุขภาพดี แทนที่จะเป็นเพียงการมีชีวิตที่ยืนยาวเท่านั้น ตรรกะในเรื่องนี้สามารถเข้าใจได้ง่าย คือยิ่งผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและช่วยเหลือตัวเองได้มาก จะทำให้สังคมเราดีขึ้นด้วย

ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพในคนสูงวัย

แม้ว่าผู้สูงอายุไม่มีโรคภัยอื่นๆ แต่มีหนึ่งปัญหาใหญ่ด้านกายภาพที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญเรียกว่า “ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง” ซึ่งเป็นการสูญเสียมวลและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น ภาวะกล้ามเนื้อพร่องสามารถนำไปสู่การเสื่อมสภาพของสุขภาพด้านอื่นๆ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนที่ และเพิ่มความเสี่ยงจากการหกล้มและเกิดกระดูกแตกหักในร่างกาย โดยรวมแล้ว คนญี่ปุ่นรับประทานโปรตีนน้อยลงเรื่อยๆ ทุกปี และเมื่อเทียบกับคนวัยหนุ่มสาวแล้ว ผู้สูงอายุมีความสามารถสร้างกล้ามเนื้อใหม่ได้น้อยกว่า นี่ทำให้กรมแรงงานและสวัสดิการ กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นได้กำหนดเป้าหมายการบริโภคโปรตีนในประชากรทุกวัย

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะกล้ามเนื้อพร่องมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องในการเคลื่อนที่, ความเสี่ยงต่อการหกล้มและกระดูกแตก, ความบกพร่องในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน, ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

โภชนาการที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ทำให้ผู้คนสุขภาพดี และกรดอะมิโนที่เป็นเหมือนอิฐบล็อกของโปรตีนก็เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับโภชนาการที่เพียงพอและสมดุล

หลายบริษัทจึงศึกษาและวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพดีได้ เช่น บริษัท Ajinomoto ที่คิดค้นผลิตภัณฑ์รวมกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด (รวมถึงลิวซีนร้อยละ 40) ที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารเสริมนี้และออกกำลังกายที่ระดับปานกลาง (60 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง) มีมวลกล้ามเนื้อขาสูงขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และสามารถเดินได้เร็วขึ้นกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริมและไม่ได้ออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญ

ถือเป็นภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชากรประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังเผชิญกับ “สังคมผู้สูงอายุ” นั่นเอง