ของอร่อยที่จะชวนไปชิมในสัปดาห์นี้อยู่แถวๆ ถนนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี ชื่อร้าน SAME SAME By Chef Bob เจ้าของร้านคือคุณอนันตยา ธัญญผล หรือคุณเอ็กซ์

เชฟใหญ่ของร้าน ชื่อเชฟบ๊อบ ไม่ใช่ใครอื่นไกล เป็นสามีของคุณเอ็กซ์นั่นเอง เชฟบ๊อบมีชื่อจริงว่าคุณพงษ์ประพันธ์ นามภักดี เป็นชาวจังหวัดศรีสะเกษ เริ่มทำงานในร้านอาหารมาตั้งแต่ตำแหน่งพนักงานล้างจาน

ค่อยๆ สั่งสมประสบการณ์การทำงานมาเรื่อยๆ มาเป็นผู้ช่วยเตรียมวัตถุดิบในร้านอาหารสไตล์อเมริกัน แล้วย้ายไปทำงานร้านอาหารอิตาเลียนในตำแหน่งผู้ช่วยกุ๊ก เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นกุ๊ก เป็นซูเชฟ จากนั้นมาเป็นเชฟ ประจำอยู่ที่ร้านอาหารขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง นานถึงสิบสองปี

เมื่อมีโอกาสฤกษ์งามยามดี ในช่วงปลายปี พ.ศ.2561 จึงลาออกมาทำกิจการของตัวเองกับภรรยา โดยใช้ชื่อร้านว่า SAME SAME By Chef Bob

รายการอาหารของทางร้าน มีหลากหลาย ทั้งพิซซ่า สปาเกตตี สเต๊ก และกับข้าวแบบไทยๆ ถ้าได้เปิดเมนูดู จะเห็นว่ามีให้เลือกมากมาย สุดแท้แต่ใครจะชอบแนวไหน

ของอร่อยที่อยากชวนให้ลองชิม ได้แก่ พิซซ่าแป้งบางกรอบ มีให้เลือกหลายหน้า เช่น แซลมอนรมควัน แฮมชีส คาโบนาร่า ทะเล ไส้กรอกอิตาเลียน จะสั่งแบบสองหน้าในถาดเดียว เชฟก็จัดให้ได้

เปาะเปี๊ยะแฮมชีส ทอดมันกุ้ง ยำถั่วพูปูนิ่ม ยำมะเขือยาวทะเล หมูมะนาว ขาหมูเยอรมันทอด มันบดกับผักโขมเบคอนราดซอสเกรวี่ ปลาแซลมอนย่างซอสพริกไทยดำ สปาเกตตีปูนิ่มคั่วเกลือ ปลากะพงนึ่งผักน้ำพริก สะตอผัดกะปิกุ้ง ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ ซี่โครงหมูนึ่งเต้าเจี้ยว ไข่ตุ๋นทะเลหม้อไฟ

ของหวานแนะนำ ไอศกรีมทีรามิสุ เครปซูเซทกับไอศกรีม พานาคอตต้า กล้วยอบน้ำผึ้งทอดกับซอสวานิลลา

เครื่องดื่ม มีน้ำมะพร้าวเกล็ดน้ำแข็ง น้ำส้มสด น้ำเสาวรส น้ำตะไคร้

2
4

SAME SAME By Chef Bob อยู่ใกล้สี่แยกท่าอิฐ-ไทรม้า ถ้าไปจากสี่แยกแคราย ข้ามสะพานพระนั่งเกล้า ลงสะพานไปแล้วใช้ช่องทางด้านซ้าย เพื่อเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกท่าอิฐ ตรงเข้าไปนิดเดียว จะเห็นร้านอยู่ทางซ้ายมือ เลี้ยวเข้าไปจอดในลานจอดรถได้เลย

ที่นั่งในร้าน มีทั้งในห้องปรับอากาศ และบริเวณรับลมธรรมชาติใต้ร่มไม้

เปิดบริการทุกวัน เวลา 11.00 น. ถึง 23.00 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 09-7059-3653

สมุนไพรมหิดล

คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

ชงโค

ชื่อพฤกษศาสตร์ Bauhinia purpurea L.

ชื่อพ้อง : Caspareopsis purpurea (L.) Pittier, Phanera purpurea (L.) Benth.

วงศ์ :  FABACEAE

ไม้พุ่มถึงไม้ต้น สูงได้ถึง 10 เมตร

ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปเกือบกลม เส้นใบ 9-13 เส้น ปลายใบกลมถึงแหลม โคนใบรูปกลมถึงรูปหัวใจ มีหูใบขนาดเล็ก

ดอกช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอดและซอกใบ ดอกย่อย 6-10 ดอก มีใบประดับรูปไข่ ปลายแหลม กลีบดอกสีชมพูถึงสีม่วงเข้ม

ผลเป็นฝักแตกได้ รูปแถบ เมล็ดมีได้ถึง 10 เมล็ด

สรรพคุณโบราณ : ราก ช่วยขับลม เป็นยาระบาย ช่วยเจริญอาหาร

เปลือกต้น แก้ท้องเสีย

ใบ แก้ไอ แก้ไข้ พอกฝี

ดอก ระบายพิษไข้

ข้อมูลที่น่าสนใจจากรายงานของรอยเตอร์ส เมื่อ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าไทยไม่ได้เป็นเพียงประเทศที่ใช้โซเชียลมีเดียกันมากมายเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ทำมาหากินมากเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียอีกด้วย

ผมประเมินเอาเองจากข้อมูลของรอยเตอร์สในรายงานชิ้นนี้ว่า การใช้โซเชียลมีเดียเป็นเส้นทางไปสู่ความเป็นเศรษฐีเส้นทางใหม่สำหรับคนไทยได้เลยครับ

รอยเตอร์สยกตัวอย่างให้เห็นกรณีที่ประสบความสำเร็จจากการ “ขาย” ผ่านโซเชียลมีเดียเอาไว้มากมาย ที่สะท้อนให้คิดเช่นนั้น

ตัวอย่างเช่น “อนุรักษ์” ลูกชายชาวประมงจากจังหวัดสตูล ใช้เวลาตอนกลางคืน ขายกุ้ง ขายปลา ผ่านเฟซบุ๊ก ไลฟ์สตรีมมิ่ง มีผู้เข้าชมในแต่ละครั้งมากถึง 300,000 คน

เดือนมีนาคมที่ผ่านมาเดือนเดียว เขาทำรายได้จากการขายด้วยวิธีการแบบนี้เป็นเม็ดเงินสูงถึง 26 ล้านบาท ไม่เป็นเศรษฐีได้ไงไหว

ภาพความสำเร็จที่ว่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะ “บูม” ของการค้าขายออนไลน์ที่ผ่านแอพพลิเคชั่นสื่อสังคม ซึ่งถูกเรียกขานเสียใหม่เพื่อให้เจาะจงลงไปได้มากขึ้นว่า “โซเชียลคอมเมิร์ซ” แทนที่ “พาณิชยกรรมอิเล็กทรอนิกส์” หรือ “อีคอมเมิร์ซ” ที่เป็นคำรวมก่อนหน้านี้

 

สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. หรือ เอทดา) เผยแพร่รายงานล่าสุดเอาไว้ว่า เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา มูลค่าการขายผ่านโซเชียลมีเดียในไทยตลอดปีสูงอย่างเหลือเชื่อถึง 334,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในปี 2016 ถึงกว่าเท่าตัว หลังจากที่มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นของธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายให้สามารถทำธุรกรรมผ่านสมาร์ตโฟน หรือ “โมบาย แบงกิ้ง แอพพ์” ได้ง่ายขึ้น ใช้จ่ายสะดวกมากยิ่งขึ้น

ปริมาณยอดขายที่ว่านั้นคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 44 เปอร์เซ็นต์ของอีคอมเมิร์ซทั้งหมดในประเทศไทย เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยอยู่ที่ระดับ 21 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

หลังจากนั้นบรรดาธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายก็เริ่มลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน ซึ่งคาดกันว่าน่าจะยิ่งผลักดันให้ตลาดยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้นไปอีก

มีหลายเหตุผลที่รอยเตอร์สบอกว่าทำให้การขายผ่านโซเชียลมีเดียเบ่งบานเป็นที่นิยมในประเทศไทย ตั้งแต่เรื่องของการที่บรรดายักษ์ใหญ่ในแวดวงอีคอมเมิร์ซระดับโลกทั้งหลายไม่ได้ขยับตัวเข้ามาในประเทศไทย

กว่าจะเข้ามาจริงๆ จังๆ ก็ถือว่าล่าช้ามากไปหน่อย เรื่อยไปจนถึงเรื่องของวัฒนธรรมชื่นชอบ “ช้อป” และการใช้งานเฟซบุ๊ก อินสตาแกรมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่การใช้ประโยชน์ทางการค้า

ข้อมูลของเฟซบุ๊กระบุว่า คนไทยเกินกว่าครึ่งประเทศ คือ 57 เปอร์เซ็นต์ หรือเท่ากับราวๆ 38 ล้านคน เข้าใช้งานเฟซบุ๊กทุกวัน

อเลสซานโดร ไซซินี ผู้ก่อตั้งครีเอ กิจการให้คำแนะนำเพื่อการส่งเสริมแบรนด์สินค้าผ่านโซเชียลมีเดียในไทย ให้ความเห็นเอาไว้ว่า สำหรับไทยแล้ว โซเชียลคอมเมิร์ซถือว่าเป็นตลาดสำคัญที่ต้องเกาะติด เหตุผลก็คือเฟซบุ๊กเองก็เคลื่อนไหวเข้ามาในทิศทางนี้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นเดียวกัน

แม็กคินซีย์ บริษัทที่ปรึกษาชี้ว่า ทั่วทั้งเอเชีย มีเพียงอินโดนีเซียเท่านั้นที่พอจะสูสีกับไทยในแง่ของการทำมาหากินผ่านโซเชียลมีเดีย สัดส่วนของโซเชียลคอมเมิร์ซต่ออีคอมเมิร์ซของที่นั่นอยู่ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่มูลค่ารวมอยู่เพียงแค่ 3,000 ล้านดออลลาร์ หรือแค่ 1 ใน 3 ของไทยเท่านั้น

นอกจากนั้น ตลาดยังพัฒนาได้ไม่เท่าไทย เพราะส่วนใหญ่ของชาวอินโดนีเซียไม่มีบัญชีธนาคาร และผู้ขายยังมีปัญหาในการจัดส่งอยู่มากจากธรรมชาติของประเทศเกาะ

 

ความแตกต่างอย่างสำคัญระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียก็คือ ส่วนใหญ่การซื้อขายออนไลน์มักเกิดขึ้นผ่านยักษ์อีคอมเมิร์ซระดับโลกทั้งหลาย ตั้งแต่อาลีบาบาในจีน, อเมซอนของสหรัฐอเมริกาในญี่ปุ่น, ฟลิปคาร์ต ที่เป็นส่วนหนึ่งของวอลมาร์ตในอินเดีย เป็นต้น

แต่การขายผ่านไลฟ์สตรีมมิ่ง ก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ อย่างเช่น กำลังเป็นที่นิยมกันในจีน และเริ่มมีบริษัทโซเชียลคอมเมิร์ซให้เห็นกันในอินเดียในช่วงปีที่ผ่านมาเป็นต้น

ฟอเรสเตอร์ รีเสิร์ช ชี้ว่ายอดขายในอินเดียต่อปี ตอนนี้อยู่ระหว่าง 100 ล้านดอลลาร์ ถึง 150 ล้านดอลลาร์แล้ว

ไม่แน่จริง ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ ไม่เริ่มหันมาหาโซเชียลคอมเมิร์ซกันเป็นทิวแถวแล้วในขณะนี้