วันที่ 27 เมษายน 2561 หลังเกิดพายุฤดูร้อนถล่มหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกลงมาอย่างหนัก ลมกระโชกแรง โดยเพจเฟซบุ๊ก JS100 Radio รายงานว่า เวลา 19.15 น. เกิดฝนตก ลมแรง ป้ายรถเมล์หน้า ปตท. สำนักงานใหญ่ บริเวณถนนวิภาวดี ขาออก พังถล่มลงมา ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง

 

ที่มา เพจเฟซบุ๊ก JS100 Radio

ในช่วงวันที่ 26-27 เมษายน 2561 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 26-27 เมษายน 2561 ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่

มีผลกระทบตามภาคต่าง ๆ ดังนี้

ในวันที่ 26 เมษายน 2561

ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในวันที่ 27 เมษายน 2561

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง : จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 11.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 17.00 น.

เมื่อวันที่ 24 เม.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา เผยประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 24-27 เมษายน 2561)” ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 24 เมษายน 2561 ในช่วงวันที่ 24-27 เมษายน 2561 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยมีผลกระทบตามภาคต่างๆ ดังนี้

ในวันที่ 24 เมษายน 2561 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ในช่วงวันที่ 25 เมษายน 2561 ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในช่วงวันที่ 26 เมษายน 2561 ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ในวันที่ 27 เมษายน 2561 ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง : จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก : จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงบริเวณประเทศจีนตอนใต้ และเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่า จะแผ่เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในคืนวันนี้ (24 เม.ย. 2561) และจะแผ่ขยายเข้าปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในวันที่ 25-27 เมษายน 2561 ในขณะที่ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์

เตือนอากาศร้อนจัด 19-23 เม.ย. กรมอุตุฯระบุส่วนช่วง 24-25 เม.ย. ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยเฉพาะตอนบนอาจเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตก ปภ.แถลง 30 จว.เจอฤทธิ์วาตภัย บ้านพังมากกว่า 3 พันหลัง มี ผู้เสียชีวิต 4 ราย เร่งสำรวจความเสียหายให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว ประสานจังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง กทม.-ปริมณฑลเตรียมพร้อมรับมือ จัดชุดเคลื่อนที่เร็วพร้อมเผชิญเหตุ เมืองเพชรทั้งฝนทั้งลมถล่มนาน กว่า 2 ช.ม. จันทบุรีอ่วมพายุกระหน่ำสวน ทุเรียนอ.ขลุงยับ 300 ไร่ เสียหายหนักกว่า 12 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 18 เม.ย. กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 18 เม.ย. 2561)” ฉบับที่ 21 ลงวันที่ 18 เม.ย. ระบุว่า สภาพอากาศในอีก 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18-23 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ประเทศ ไทยตอนบนมีอากาศร้อน กับมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 19-23 เม.ย. ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น เกษตรกรควรระมัดระวังและป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 18-23 เม.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อน โดยมีลมตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีฝนฟ้าคะนองได้บางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24-25 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศ ไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนบางพื้นที่ ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่

วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กระทรวงมหาดไทย นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยสถานการณ์ผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ว่า ช่วงวันที่ 13-17 เม.ย.ที่ผานมา มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 30 จังหวัด 111 อำเภอ 209 ตำบล 477 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชน 3,033 หลัง และมีผู้เสียชีวิต 4 ราย ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว นอกจากนี้ ได้ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและ เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง

อธิบดีปภ.ระบุว่า ในส่วนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ แยกเป็น ภาคเหนือ 11 จังหวัด ประกอบด้วย จ.กำแพงเพชร 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง บึงสามัคคี ขาณุวรลักษบุรี ปางศิลาทอง ไทรงาม และอ.คลองขลุง รวม 13 ตำบล 47 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผล กระทบ 428 หลัง, จ.เพชรบูรณ์ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเชียรบุรี และบึงสามพัน รวม 10 ตำบล 25 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผล กระทบ 359 หลัง, จ.เชียงใหม่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่ริม สะเมิง หางดง และอ.เวียงแหง รวม 8 ตำบล 12 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 19 หลัง, จ.แพร่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สอง ร้องกวาง และอ.หนองม่วงไข่ รวม 5 ตำบล 7 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 13 หลัง, จ.นครสวรรค์ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ไพศาลี หนองบัว และอ.บรรพตพิสัย รวม 5 ตำบล 10 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 68 หลัง

จ.ลำปาง 6 อำเภอ ได้แก่ อ.งาว แม่พริก วังเหนือ อ.เมือง ห้างฉัตร และอ.เมืองปาน รวม 14 ตำบล 41 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 189 หลัง, จ.พิจิตร 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ดงเจริญ บึงนาราง สามง่าม และอ.เมือง รวม 6 ตำบล 18 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 142 หลัง. จ.น่าน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เวียงสา นาหมื่น และอ.นาน้อย รวม 12 ตำบล 12 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 14 หลัง, จ.เชียงราย 9 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง เวียงเชียงรุ้ง แม่ฟ้าหลวง แม่สรวย ดอยหลวง เวียงแก่น ขุนตาล เวียงชัย และอ.พญาเม็งราย รวม 22 ตำบล 52 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 101 หลัง, จ.พะเยา 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูซาง เชียงม่วน และอ.เมือง รวม 3 ตำบล 11 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 71 หลัง และจ.พิษณุโลก เกิดวาตภัยใน พื้นที่อำเภอชาติตระการ รวม 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 34 หลัง

 

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 5-7 เมษายน 2561) ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 05 เมษายน 2561 ระบุว่า

ในช่วงวันที่ 5-6 เมษายน 2561 ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่

ส่วนในวันที่ 7 เมษายน 2561 ด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงมีฝนฟ้าคะนองได้ต่อเนื่อง ส่วนภาคใต้ตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีฝนลดลง

จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

ในวันที่ 5 เมษายน 2561
ภาคเหนือ: จังหวัดลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ มุกดาหาร ขอนแก่น และชัยภูมิ

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี

ในวันที่ 6 เมษายน 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในวันที่ 7 เมษายน 2561
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคใต้ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมถึงประเทศจีนตอนกลาง คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบนในวันนี้ (5 เม.ย. 61) และจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในช่วงวันที่ 5-7 เมษายน 2561 ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับในช่วงวันที่ 7-9 เมษายน 2561 ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

วันที่ 2 เมษายน 2561 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเรื่อง “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 5-7 เมษายน 2561)” ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 02 เมษายน 2561 โดยระบุว่า

ในช่วงวันที่ 5-6 เมษายน 2561 ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกและมีฝนตกหนักบางพื้นที่

ส่วนในวันที่ 7 เมษายน 2561 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีฝนลดลง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีฝนฟ้าคะนองได้ต่อเนื่อง

จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า ที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง และน้ำป่าไหลหลาก สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบตามพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

ในวันที่ 5-6 เมษายน 2561

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 7 เมษายน 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับในช่วงวันที่ 7-9 เมษายน 2561 ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

ประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 11.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 11.00 น.

วันที่ 31 มีนาคม แบบจำลองสภาพอากาศ(วาฟ-รอม) ของสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร(สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) ตรวจสอบพบว่า ในวันที่ 31 มีนาคม ถึง 2 เมษายน บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนแล้ว
ทำให้ลมตะวันออกเฉียงเหนือเกิดการปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบน ทำให้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ส่วนลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง เช่นเดียวกับพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานครที่ได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศสูงกำลังอ่อนที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แล้วมาปะทะกับอากาศร้อนชื้นที่สะสมในพื้นที่ และจะเกิดยกตัวขึ้นเป็นฝน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดคล้ายกับเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ซึ่งเกิดฝนตกหนักที่บริเวณรังสิต จนทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด

วาฟแจ้งด้วยว่า หลังวันที่ 2 เมษายน ความกดอากาศสูงจะอ่อนกำลังลง ปริมาณฝนก็จะลดลง และช่วงวันที่ 6 เมษายน พบว่ามีแนวโน้มบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากแนวโน้มดังกล่าวเป็นไปตามความคาดหมาย จะทำให้บริเวณความกดอากาศสูงค่อนข้างแรงดังกล่าวเกิดการปะทะกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้เกิดพายุฤดูร้อนที่มีความรุนแรง และอาจจะเกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บในบางพื้นที่ ประมาณวันที่ 6-7 เมษายน ปรากฏการณ์นี้จะเกิดไล่มาตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงสู่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ

“จากนั้นประมาณวันที่ 8-9 เมษายน อุณหภูมิจะลดต่ำลง โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจจะต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียสอีกรอบ ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯก็จะมีลุ้นว่าอาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 23 องศาเซลเซียส ดังนั้น ในช่วงวันที่ 6-7 เมษายน ขอเตือนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนทั่วไปเตรียมการตรวจสอบความมั่นคงของสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ใหญ่ เพื่อเตรียมรับมือกับพายุฤดูร้อนในรอบนี้” วาฟระบุ

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (จะมีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2561) ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2561 ระบุว่า

ในช่วงวันที่ 21-23 มีนาคม 2561 ประเทศไทยตอนบนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน และฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้

ในช่วงวันที่ 21 มีนาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 22-23 มีนาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกและทะเลจีนใต้แล้ว คาดจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางในเย็นวันนี้ (21 มี.ค. 61) ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 20-23 มีนาคม 2561) ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2561 ระบุว่า

ในช่วงวันที่ 20-23 มีนาคม 2561 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีผลกระทบในวันนี้ (20 มีนาคม 2561) ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะเริ่มได้รับผลกระทบในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 21 มีนาคม 2561) จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน และฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้

ในช่วงวันที่ 20 มีนาคม 2561

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 21 มีนาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 22-23 มีนาคม 2561

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนาม ลาว และทะเลจีนใต้ตอนบนแล้ว คาดว่า ในช่วงวันที่ 20-23 มีนาคม 2561 จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์