วันที่ 22 ม.ค.2564 ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ระบุว่า เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่าเกินค่ามาตรฐานจำนวน 68 พื้นที่​ได้แก่​ เขตหนองแขม, เขตจอมทอง, เขตบางขุนเทียน, เขตบางบอน, เขตบางแค, เขตประเวศ, เขตทวีวัฒนา, เขตธนบุรี, เขตบางกอกใหญ่, เขตบางนา, สวนธนบุรีรมย์ (เขตทุ่งครุ),​ เขตทุ่งครุ, เขตบางกอกน้อย, เขตคลองสาน, เขตคลองเตย, เขตตลิ่งชัน,

เขตภาษีเจริญ, เขตยานนาวา, เขตหนองจอก, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตพระโขนง, สวนทวีวนารมย์ (เขตทวีวัฒนา),​ เขตสัมพันธวงศ์, เขตราษฎร์บูรณะ, เขตสาทร, สวนบางแคภิรมย์ (เขตบางแค),​ เขตวัฒนา, เขตบางคอแหลม, เขตสายไหม, เขตลาดกระบัง, เขตคลองสามวา, เขตบางกะปิ, สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (เขตบางคอแหลม), ​เขตมีนบุรี,

เขตพระนคร, เขตบางรัก, เขตบางเขน, เขตคันนายาว, เขตดินแดง, เขตดุสิต, เขตบึงกุ่ม, สวนหนองจอก (เขตหนองจอก),​ สวนหลวงพระราม 8 (เขตบางพลัด),​ เขตสวนหลวง, เขตพญาไท, เขตหลักสี่, เขตบางซื่อ, เขตจตุจักร, สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ (เขตลาดกระบัง),​ เขตบางพลัด, เขตดอนเมือง, สวนพระนคร (เขตลาดกระบัง),​ สวนเบญจกิติ (เขตคลองเตย),​ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (เขตบางกอกน้อย)​,

สวนสันติภาพ (เขตราชเทวี)​, เขตวังทองหลาง, เขตสะพานสูง, เขตลาดพร้าว, สวนเสรีไทย (เขตบึงกุ่ม)​, เขตราชเทวี, สวนหลวง ร.9 (เขตประเวศ),​ สวนจตุจักร (เขตจตุจักร)​, สวนวชิรเบญจทัศ (เขตจตุจักร)​, สวนลุมพินี (เขตปทุมวัน),​ สวนกีฬารามอินทรา (เขตบางเขน)​, สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (เขตจตุจักร)​, เขตห้วยขวาง และ สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน (เขตดอนเมือง)​

โดยตรวจวัดได้ในช่วง 59-97 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) คิดเป็นร้อยละ 97.14 จากจำนวนเขตที่มีสถานีตรวจวัดทั้งหมด
คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพบางพื้นที่

สำหรับค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคำแนะนำในการปฏิบัติตน : คุณภาพอากาศปานกลาง ประชาชนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ให้ประชาชนทั่วไปในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น

ส่วนคุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิด หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพมลพิษในอากาศกรุงเทพมหานครเช้าวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา พบว่า มีพีเอ็ม2.5 พุ่งสูงในระดับสีแดงหรือเป็นผลเสียต่อสุขภาพแล้ว

ขณะที่สภาพอากาศในช่วงเช้าที่ผ่านมามีฝุ่นควันลอยอยู่ในอากาศเป็นจำนวนมากจนเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ด้านแอพพลิเคชั่น IQAir AirVisiual รายงานว่า กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่มีสภาพอากาศย่ำแย่ติดอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีพีเอ็ม2.5 อยู่ในระดับ 172 สีแดง ทั้งนี้ควรงดกิจกรรมกลางแจ้งที่จะทำในวันนี้หรือหากจำเป็นควรสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 ตลอดเวลาที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งเสมอ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียสกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในระยะนี้ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ฝุ่นละออง/หมอกควันมีการสะสมมากขึ้น

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06.00 น.วันนี้ ถึง 06.00 วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: อากาศเย็นในตอนเช้า ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 15-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) เมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

วันที่ 14 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าเต็มไปด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

โดย เว็บไซต์ Air4Thai รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 58 พื้นที่ ใน กทม.และปริมณฑล โดยริมถนนจรัญสนิทวงศ์ ฝุ่นมากสุด 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ คาดว่าฝุ่นมีแนวโน้มลดลงวันที่ 16 ธ.ค.นี้

ด้านเว็บไซต์ Air Visual รายงานว่า เมื่อเวลา 08.00 น. พื้นที่กรุงเทพ มีคุณภาพอากาศเป็นอันตราย อยู่ที่ 170 US AQI ไม่แนะนำให้ทำกิจกรรมนอกบ้าน สูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลก

ทั้งนี้จากสถานการณ์สภาพอากาศที่ย่ำแย่ ทำให้โลกออนไลน์แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาฝุ่นเป็นจำนวนมาก ทำให้ #PM25 ขึ้นติดเทรนด์ทวิตเตอร์ด้วย

ที่มา : ข่าวสด

นาทีนี้คนกรุงตื่นขึ้นมาหยิบมือถือเปิดแอพพ์ดูก่อนเลยว่าแดงไม่แดง เพราะอยู่ร่วมกับพีเอ็ม 2.5 มานานพอสมควร

แต่ยังไม่ต้องถึงกับสวดมนต์ไล่ เพราะยังมีวิธีอีกมากมายที่จะสร้างเกราะป้องกันฝุ่นจิ๋วไม่ให้เข้าสู่ร่างกายหรือเข้าสู่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งนอกจากการสวมหน้ากากเอ็น 95 เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่สีแดงแล้ว สิ่งที่ควรเริ่มเสียแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่บัดนี้ได้เลยคือ การสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มเพื่อเป็นเกราะดักจับฝุ่นก่อนที่จะบุกรุกเข้ามาในบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่เซฟตี้โซนของเราของครอบครัวที่เรารัก

ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะมีงานวิจัยรองรับจริง ว่าต้นไม้สามารถดักจับฝุ่นได้อย่างน้อย 10-90% ขึ้นกับชนิดของพืช

โดยเฉพาะพืชที่มีใบสากๆ มีขนใบ อย่างเช่น ตะขบฝรั่ง ทองอุไร เสลา จามจุรี และแคแสด มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นสูงสุด

การเลือกกินอาหารก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยได้ โดยเน้นอาหารที่มี “วิตามินซี” “น้ำมันปลา” เช่น การกินผักให้ครบทั้ง 5 สี อย่างบร็อกโคลี ปลาทู เรียกว่าเอาอนุมูลอิสระมาช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านทานเชื้อโรคที่อยู่ในอากาศ

วิตามินซีน่ะกินทุกวัน ภูมิแพ้พวกแพ้ฝุ่น แพ้อากาศ ยังเอาอยู่เลย

 


ที่มา คอลัมน์ เครื่องแนม / นสพ.มติชน