🌈ชวนไปค้นหาร่อยรอยในอดีตก่อนกำเนิดกรุงศรีอยุธยา บริเวณบางบาลและคลองมหาพราหมณ์ กับ รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในทัวร์ “ยลวัดเก่านอกเกาะเมือง เล่าเรื่องก่อนกำเนิดกรุงศรีฯ” จ.พระนครศรีอยุธยา จัดโดยมติชนอคาเดมี 

🌅การเกิดกรุงศรีอยุธยา อาจมีทฤษฎีของนักประวัติศาสตร์ได้หลายทฤษฎี บางทฤษฎีบอกว่าพระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่1อาจจะมีที่มาจากหลายๆเมือง ตั้งแต่หัวเมืองเชียงแสนเป็นต้นมา และมักจะเชื่อกันว่าบริเวณฝั่งตะวันออกของอยุธยาที่เรียกว่า อโยธยา เป็นที่มาของการเกิดกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.1893  

🌠ในทางกลับกันบางทฤษฎีให้ความสำคัญกับโบราณสถาน เช่น พระเจดีย์หรือพระอุโบสถพระวิหาร ว่าถ้าเป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ก็มีร่องรอยของศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น หรือมักจะเรียกกันว่าสมัยอโยธยา 

🌄ในทางทิศตะวันตกของอยุธยาก็มีวัดต่างๆที่สำคัญ เช่น วัดขนอน วัดเก้าห้อง วัดกลาง หรือวัดอีกมากมายแถบคลองมหาพราหมณ์ ซึ่งวัดจำนวนมากแถบนี้มีสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่มติชนอคาเดมีจะพาทุกท่านมาชมคือ กลุ่มของใบเสมาขนาดใหญ่ ที่ทำด้วยหินทรายสีแดงและเชื่อกันว่ามีอายุเก่าถึงสมัยอยุธยาตอนต้นหรือก่อนกรุงศรีอยุธยา  

📚📒นักประวัติศาสตร์ศิลป์ เช่น น.ณ ปากน้ำ จะกำหนดอายุใบเสมาพวกนี้เป็นกลุ่มอู่ทอง-อโยธยา ทำให้เราตั้งข้อสันนิษฐานว่าฝั่งตะวันตกของเกาะเมืองอยุธยา แถบแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาที่อ.บางบาล และแถบคลองมหาพราหมณ์ซึ่งเป็นคลองสำคัญ เป็นกลุ่มของพื้นที่ที่อาจจะเป็นไปได้ ถึงการเกิดขึ้นก่อนของกรุงศรีอยุธยา ในปีพ.ศ. 1893 

🚌 ทัวร์ “ยลวัดเก่านอกเกาะเมือง เล่าเรื่องก่อนกำเนิดกรุงศรีฯ” จ.พระนครศรีอยุธยา เดินทางวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2563 ราคา 2,000 บาท 

☎ สอบถามรายละเอียดหรือสำรองที่นั่งได้ที่ Inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี คลิก m.me/Matichon.Academy.Thailand 

โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105 

line : @matichon-tour คลิก http://line.me/ti/p/%40matichon-tour line : @matichonacademy คลิก https://line.me/R/ti/p/%40matichonacademy 

#ทัวร์ศิลปวัฒนธรรม #มติชนอคาเดมี #ทัวร์มติชนอคาเดมี

อ.ปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลที่มีคุณูปการมากมายเหลือคณานับ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎร ผู้ก่อตั้งเสรีไทย อดีตรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้สร้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทัวร์ “120 ปีชาตกาล อ.ปรีดี พนมยงค์” จ.สระบุรี-ลพบุรี-พระนครศรีอยุธยา ของมติชนอคาเดมี ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14-15 มีนาคม 2563 จึงน่าติดตามไปอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รู้จัก อ.ปรีดี มากขึ้นในด้านที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน

ที่สระบุรีและลพบุรี เกี่ยวข้องกับอ.ปรีดี ตรงที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร โดยเฉพาะหนึ่งในคณะราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกและใกล้ชิดกับ อ.ปรีดี คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อยากไปสร้างอนุสรณ์2500ปี เรียกว่าพุทธมณฑลขึ้นที่สระบุรี เพราะมีพระพุทธบาท แต่มตินี้แพ้โหวตในรัฐสภา พุทธมณฑลจึงไปสร้างที่นครปฐม จนเกิดพระปฐมเจดีย์

กษัตริย์อยุธยา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม ราชประเพณีต้องเสด็จพระพุทธบาทเป็นพระราชกรณียกิจ กษัตริย์ที่เสด็จไปจะต้องนั่งอยู่บนหลังช้าง เป็นระบำหลังช้าง กษัตริย์ต้องฟ้อนบนหลังช้างถวายเป็นพระพุทธบูชาแก่พระพุทธบาท เป็นงานใหญ่มาก เพราะฉะนั้นจากแนวความคิดของคณะราษฎร ถึงอยากจะกลับไปพุทธบาทอีก เราจะไปเริ่มต้นกันที่พระพุทธบาท

หลังจากนั้นเราจะไปที่ลพบุรี เขาบอกว่าเป็นเวสปอยท์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือสร้างเป็นเมืองทหาร พูดง่ายๆคือไอเดียความคิดของจอมพล ป.และอ.ปรีดี ซึ่งเป็นนักเรียนเก่าฝรั่งเศสก็เอามาสร้างเป็นเมืองอุดมคติ ประมาณว่าเราจะสร้างเมืองไทยให้เป็นอย่างนี้ คล้ายๆกับลพบุรีตั้งเป็นเมืองในอุดมคติ มีการวางผังเมือง มีการแบ่งโซน วงเวียนในเมืองไทยครั้งแรกที่ลพบุรี เป็นการจัดการจราจรแบบฝรั่งเศส ไม่มีสัญญาณไฟ สถาปัตยกรรมในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม จะเป็นวงเวียน เวลาจะเข้าถึงเกาะอยุธยา จะผ่านเจดีย์สามปลื้มเป็นวงเวียน เป็นผลงานของคณะราษฎร เราไปที่ลพบุรี ก็จะเห็นผลงานของคณะราษฎร

จากนั้นกลับมาอยุธยา บ้านเกิด อ.ปรีดี ไปวัดพนมยงค์ ตระกูล อ.ปรีดี อุปัฏฐากวัดนี้ ไปอนุสรณ์สถาน อ.ปรีดี ณ จุดนี้ มีกิมมิคเล็กๆ เราจะกินอาหารกลางวันกันที่อนุสรณ์สถาน อ.ปรีดี โดยเสิร์ฟเมนูที่ อ.ปรีดี ชื่นชอบหลายอย่าง กระซิบให้ฟัง 1 เมนู คือ ทอดมันปลากราย

พูดง่ายๆว่า นอกจากตามรอย อ.ปรีดี แล้ว ยังตามรอยอาหารที่ อ.ปรีดี ชื่นชอบทั้งคาวและหวานด้วย

จากนั้นจะไปที่วัดมงคลบพิตร ที่นี่เกิดเหตุการณ์สำคัญ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง อ.ปรีดี กับสถาบันกษัตริย์ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในการถวายความปลอดภัยแก่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง โดยเฉพาะในพระบรมมหาราชวัง เพื่อความปลอดภัยจึงทูลเชิญเสด็จไปประทับอยู่ที่บางปะอิน อ.ปรีดี ได้ตามไปดูแล หนึ่งในนั้นคือพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จไปวัดมงคลบพิตรเพื่อปิดทองและเกิดเหตุการณ์สำคัญมาก ซึ่งต้องไปฟังให้ได้

สุดท้ายเราจะไป ป้อมเพชร เป็นป้อมใหญ่ที่สุดที่รักษาเมืองอยุธยา แม่น้ำเจ้าพระยาที่มาจากปากอ่าวจะมาเจอป้อมเพชรก่อน แต่อีกนามหนึ่งนามป้อมเพชรกลายเป็นนามสกุลของบุคคลสำคัญ และหนึ่งในนั้นคือภรรยาของอ.ปรีดี เราจะไปดูว่าป้อมเพชรคืออะไร ทำไมจึงมีนามสกุล ณ ป้อมเพชร มีใครบ้าง แล้วใครอยู่หลังป้อมเพชร เป็นการพาไปตามรอยหลังบ้านอ.ปรีดี คือ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ด้วย

ทั้งหมดเป็นแค่ออเดิฟ ที่ อ.สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา หนึ่งในวิทยากรทริปนี้ เล่าให้ฟัง

ถ้าอยากไปฟังรายละเอียดเบื้องลึก อ.ปรีดี ที่หลายคนยังไม่เคยรู้ ต้องไปกับทัวร์“120 ปีชาตกาล อ.ปรีดี พนมยงค์” จ.สระบุรี-ลพบุรี-พระนครศรีอยุธยา ของมติชนอคาเดมี เดินทางวันที่ 14-15 มีนาคม 2563 ราคา 5,500 บาท

นำชมและบรรยายโดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ อ.สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษาคเนย์

**หมายเหตุ : เรามีระบบฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาดตลอดทริปการเดินทาง**

ติดต่อสอบถามรายละเอียด หรือสำรองที่นั่งได้ที่

inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี

โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichon-tour

line : @matichonacademy

ใคร? คือ “ขุนนาง” ผู้มีส่วนร่วมสร้างกรุงรัตนโกสินทร์???

237 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ มติชนอคาเดมีชวนร่วมทริปตามรอยประวัติศาสตร์ในทัวร์ “ขุนนาง (ผู้ร่วม) สร้างกรุงเทพฯ” กรุงเทพมหานคร กับ “รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี”

ฟังเรื่องราวการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีที่ “สะพานพุทธ” ชม “วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร” วัดที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลังได้อุทิศสวนกาแฟสร้างขึ้น

เยือน “วัดบุปผารามวรวิหาร” วัดที่ท่านผู้หญิงจันทร์ ภรรยาเอกของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และเป็นมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ทำการปฏิสังขรณ์ พร้อมชมศิลปะสุดแปลกตา จิตรกรรมตะวันตกในวัดไทย!

นอกจากนี้ยังพาชมวัดอนงคารามวรวิหาร, วัดพิชยญาติการามวรวิหาร และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สถานที่ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับขุนนาง “ตระกูลบุนนาค”

กำหนดเดินทางวันที่ 28 เมษายน 2562
นำชมและบรรยายโดย “รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี”

ราคา 2,000 บาท

คลิกอ่านรายละเอียดโปรแกรมได้ที่ https://bit.ly/2SMsb50

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสำรองที่นั่งได้ที่ inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี คลิก m.me/Matichon.Academy.Thailand
หรือโทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichon-tour คลิก http://line.me/ti/p/%40matichon-tour

ชวนไปท่องเที่ยวเมืองเก่าแก่ที่น่าหลงใหล มีทั้งศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆ จ.เพชรบุรี ทริป 2 วันจัดเต็ม! กับ ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ มาร่วมเดินทางกับทัวร์ประวัติศาสตร์กับมติชนอคาเดมี

ทัวร์ ทัศนา “วัง-วัด เมืองเพชร” ฟังเกร็ดเรื่องเล่า “สองแผ่นดิน”
วิทยากร : ผศ.ดร.พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
วันเสาร์-อาทิตย์ ที่ 18-19 สิงหาคม 2561
ราคา 5,800 บาท
คลิกอ่านโปรแกรมทัวร์ :
https://www.matichonacademy.com/tour/article_17782

สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี
Inbox : Facebook Matichon Academy
Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichonacademy

“เพราะลพบุรียังมีสิ่งน่าสนใจอีกมาก” รวบรวมบรรยากาศความประทับใจของทัวร์ “ย้อนเวลาพาออเจ้าไปเฝ้าขุนหลวงนารายณ์ที่ละโว้” จ.ลพบุรี ที่ถึงแม้รอบแรกจะฝนกระหน่ำ รอบสองจะจะอากาศร้อนอบอ้าว แต่ลูกทัวร์ของเราไม่มีใครหวั่นเลย

ถึงแม้ละครบุพเพสันนิวาสจะลาจอไปแล้ว แต่เรื่องราวประวัติศาสตร์ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหลายเรื่องยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจและชวนหาคำตอบ

โดยเฉพาะบางคำถามของแม่การะเกด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ทูตฝรั่งเศสไม่หมอบกราบถวายสาส์น หรือเรื่อง พระนารายณ์ตอบเรื่องเข้ารีต และ ลูกพระนารายณ์จริงๆแล้วมีกี่คน? มาฟังคำตอบจาก รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี ก่อนไป ทัวร์ย้อนเวลาพา “ออเจ้า” ไปเฝ้า “ขุนหลวงนารายณ์” เมืองละโว้ (ลพบุรี) กับ มติชนอคาเดมี 28-29 เม.ย.นี้

ที่มา หน้าประชาชื่น มติชนรายวัน
ผู้เขียน พนิดา สงวนเสรีวานิช

เสียงเพลงบุพเพสันนิวาส ที่ขับร้องโดย ไอซ์-ศรัณยู ดังกระหึ่มไปทั่วคุ้งน้ำวัดไชยวัฒนาราม ปลุกบรรยากาศการท่องเที่ยวเมืองกรุงเก่าให้ดูขลังยิ่งขึ้น

ราวกับต้องมนต์กฤษณะกาลี ภาพของออเจ้าทั้งหลายชาย-หญิง ทั้งเด็กแลผู้ใหญ่ตรงหน้า แต่งกายด้วยชุดไทยกระจายตัวอยู่เต็มพื้นที่โบราณสถาน เป็นประจักษ์พยานให้เห็นถึงกระแสของละครย้อนยุคเรื่องนี้ที่สร้างปรากฏการณ์อย่างแท้จริง

ที่สำคัญคือ เป็นอานิสงส์ให้กับเศรษฐกิจโดยรอบสะพัดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่เพียงการค้าขายอาหาร-เครื่องดื่ม ยังรวมกิจการให้เช่าชุดไทย พร้อมแต่งหน้าทำผม

ชุดออเจ้า ผู้ใหญ่ 250 บาท เด็ก 200 บาท สนนราคานี้รวมทั้งเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ หรือจะเป็นพัดก็มีให้บริการพร้อมสรรพ

ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่วัดไชยวัฒนารามในวันธรรมดาเพิ่มขึ้นจากหลักร้อยเป็นหลักพันคน ยิ่งในวันเสาร์-อาทิตย์ พุ่งทะยานขึ้นเป็นหลักหมื่นคน ทำให้ต้องมีการขยายเวลาเข้าชม (ตั้งแต่ 8 โมงเช้า) จากที่เคยปิดบริการ 1 ทุ่ม เป็น 3 ทุ่ม

ไม่ต่างจากที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ที่นี่เป็นฉากภายในห้องเรียนคณะโบราณคดีของเกศสุรางค์และเพื่อนสนิท-เรืองฤทธิ์


ศาลิสา จินดาวงษ์ ผอ.พิพิธภัณฑ์ เจ้าสามพระยา

ศาลิสา จินดาวงษ์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานเจ้าสามพระยา บอกว่ากระแสของละครย้อนยุคเรื่องนี้ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

จากสถิติ 6 เดือนก่อนออนแอร์ มีนักท่องเที่ยว 3 หมื่นกว่าคน เฉพาะเดือนนี้ (มีนาคม 2561) มีนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้ว 3,000 กว่าคน


พิพิธภัณฑ์ เจ้าสามพระยา มีนักท่องเที่ยวคึกคัก

นอกจากฉากห้องเรียนนางเอกของเรื่อง ผอ.ศาลิสาบอกว่า “เครื่องกรองน้ำ” ที่เรือนไทย เป็นอีกจุดเรียกแขก โดยเฉพาะช่วงเสาร์-อาทิตย์ มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่แต่งชุดไทยกันสวยงามเข้ามาเยี่ยมชมที่นี่ ส่วนใหญ่จะมาถามว่าห้องเรียนอยู่ที่ไหน เครื่องกรองน้ำอยู่ที่ไหน ซึ่งเมื่อเข้ามาแล้วก็ไม่ได้มาดูแค่ 2 สิ่งนี้เท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เป็นความรู้นอกห้องเรียนอีกมากมาย และทำให้ความคิดเดิมที่บางคนอาจคิดว่าพิพิธภัณฑ์เป็นสิ่งที่เก่าๆ โบราณๆ เป็นที่เก็บสมบัติเปลี่ยนไป

ถือได้ว่าพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาเป็นพิพิธภัณฑ์ในภูมิภาคแห่งแรกของกรมศิลปากร ซึ่งมีการจัดตั้งขึ้นจากเหตุการณ์ใหญ่ 2 เหตุการณ์ คือ ตอนกรุแตกปี 2500 และพบโบราณวัตถุล้ำค่า คือเครื่องทองในกรุวัดราชบูรณะ และพบพระบรมสารีริกธาตุที่วัดมหาธาตุ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริว่า “ของที่เจอที่ไหนสมควรได้จัดแสดงที่นั่น” และเสด็จฯมาเปิดพิพิธภัณฑ์ด้วยพระองค์เอง

ตีเหล็กต้องตีตอนร้อน

เมื่อกระแสตามรอยออเจ้าหนุนนำให้นักท่องเที่ยวไม่เกี่ยงเพศและวัยเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ที่ปรากฏในฉากละครกันอย่างถล่มทลาย นี่จึงเป็นโอกาสที่จะสอดแทรกนำเสนอเกร็ดความรู้ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของสถานที่แต่ละแห่ง ดังที่ ผอ.ศาลิสาเล่าว่า ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาจึงทำป้ายเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนพระนครศรีอยุธยาให้แวะเข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์นอกห้องเรียนที่ไม่ได้มีแค่ “เครื่องกรองน้ำโบราณ”

สะพานป่าดินสอ หรือ “สะพานวานร” อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีวัดสำคัญคือ วัดบรมพุทธาราม วัดของพระเพทราชา

“มติชนอคาเดมี” ซึ่งเป็นสถาบันที่นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงความรู้ร่วมบรรยายให้ความรู้ตลอดทริปเมื่อวันเสาร์ที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา จึงจัดทริป “ดูละครบุพเพสันนิวาส ดูประวัติศาสตร์อยุธยา” โดยมี รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ในช่วงพระนารายณ์กับฝรั่งเศส พาย้อนอดีตไปรู้จักกับเบื้องหลังสถานที่ในฉากละครบุพเพสันนิวาส


ความงามของปูนปั้นที่ยังเหลือให้เห็นที่วิหารแกลบ ในวัดพุทไธศวรรย์

นอกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาแล้ว ยังพาไปสะพาน “ป่าดินสอ” บริเวณย่านการค้าเครื่องเขียน ที่แม่หญิงการะเกดมาช้อปปิ้งสมุดไทยและดินสอศิลาขาว “ป้อมเพชร” จุดที่นางเอกของเรื่องนั่งเรือและโบกมือทักทายกับบรรดาทหารบนป้อม “วัดธรรมาราม” สถานที่เป็นฉากก่อเจดีย์ทราย ก่อนจะลงเรือที่ท่าวัดกษัตราธิราชวรวิหาร ชมทัศนียภาพริมฝั่งน้ำ ไปขึ้นที่ท่าน้ำ “วัดพุทไธศวรรย์” และปิดท้ายที่ “วัดไชยวัฒนาราม”

เพื่อปูพื้นการเดินทางตามรอยออเจ้าทริปนี้เป็นไปอย่างเข้าใจมากขึ้น รศ.ดร.ปรีดีเล่าถึงความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสในยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า ที่เห็นจากในละครที่ขุนศรีวิสารวาจาเดินทางไปเป็นตรีทูตร่วมกับคณะทูตเจ้าพระยาโกษา(ปาน) ไปฝรั่งเศสนั้นเป็นการส่งราชทูตไปครั้งสุดท้ายแล้ว

ครั้งแรกส่งทูตไปแล้วเรือแตก ครั้งที่ 2 ส่งไปเพื่อตามข่าวครั้งแรกและทราบข่าวเรือแตก มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทราบความเรือแตกจึงส่ง “เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์” อัญเชิญพระราชสาสน์เข้ามาพร้อมกับเจ้าหน้าที่ติดตามข่าวสารของไทย และเมื่อเดอ โชมองต์ จะกลับ เราจึงส่งคณะทูตไปเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งก็คือครั้งที่ขุนศรีวิสารวาจา และคณะทูตของเจ้าพระยาโกษา(ปาน) เดินทางไป ซึ่งราชทูตชุดนี้กลับมาจากฝรั่งเศสพร้อมกับ “เดอ ลา ลูแบร์” และ “โกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล”

“เป้าประสงค์การมาของเซเบอแร คือแก้ไขสนธิสัญญาที่เดอโชมองต์ทำไว้ เซเบอแรจึงเป็นคนแก้ไขสัญญาทางการค้าทั้งหมด ขณะที่ลาลูแบร์เป็นผู้แทนพิเศษที่เข้ามาเจรจาความอื่นๆ นอกเหนือจากการค้า คือการเมืองและการทหาร มาขอป้อมที่บางกอก และที่สงขลา

“ซึ่งถ้าฝรั่งเศสได้สงขลา มะริด ทวาย ตะนาวศรี และบางกอกไปแล้ว แปลว่าราชอาณาจักรสยามหายหมดเลย เหลือแค่เกาะอยุธยา และนี่ทำให้พระเพทราชาและสมเด็จพระนารายณ์ทรงวิตกกังวลพอสมควร รวมถึงขุนนางไทยที่เห็นว่าอำนาจของฝรั่งเศสคืบคลานเข้ามา”


วัดพุทไธศวรรย์ติดป้ายประชาสัมพันธ์เพจของวัด Putthaisawan

‘ม่านอาคม’เป็นเหตุ วัดพุทไธศวรรย์แทบแตก

เป็นอีกสถานที่ที่ได้รับอานิสงส์จากกระแสละครบุพเพสันนิวาสไปเต็มๆ ความที่ถูกใช้เป็นฉากที่เกศสุรางค์ในร่างของแม่หญิงการะเกด เข้าไปในสำนักดาบของวัดแห่งนี้ และได้พบกับพ่อครูชีปะขาวผู้ที่รู้ว่าการะเกดที่แท้เป็นใคร และยังได้มอบมนต์ใช้กำบังกายให้กับเธอ

“วัดพุทไธศวรรย์” สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ในบริเวณที่เคยเป็นพระตำหนักเวียงเหล็ก ที่ประทับของพระองค์ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา จึงมีพระปรางค์เป็นหลัก ลักษณะเป็นพระปรางค์องค์เดี่ยว ถือเป็นหนึ่งในสองสิ่งสำคัญของวัดนี้ นอกจากพระระเบียง

เพียงแค่ก้าวเข้าไปในส่วนของระเบียงคด เสียงของเจ้าหน้าที่สาวในชุดสไบส่งเสียงเชื้อเชิญ ถ้าจะไปดูประตูม่านอาคมเชิญทางฝั่งขวานะคะ

แน่นอน นาทีนี้นักท่องเที่ยวแน่น แทบจะเข้าคิวรอถ่ายรูปกับประตูที่กลายเป็นสถานที่ต้องเช็กอินไปแล้ว

เหตุนี้วัดพุทไธศวรรย์จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมถ่ายรูปตั้งแต่เช้า แม้ไม่ถึงกับมีร้านให้บริการเช่าชุดไทยเช่นบริเวณหน้าวัดไชยวัฒนาราม แต่บางมุมก็มีผ้าซิ่นให้หญิงสาวที่นุ่งกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้นได้ยืมเปลี่ยนชั่วคราวเพื่อขึ้นไปกราบสักการะบนพระอุโบสถ


พระตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์

สำหรับผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมวัดพุทไธศวรรย์ ไม่อยากให้พลาดชม “พระตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์” อาคารปูน 2 ชั้น เป็นตำหนักเดิมสมัยสมเด็จพระนารายณ์

“พระตำหนัก 2 ชั้นหาได้ยากในอยุธยา ที่สำคัญซุ้มประตูด้านล่างเป็นซุ้มประตูแบบพระราชนิยม เป็น Pointed arch คือเป็นซุ้มโค้งยอดแหลมแบบวังนารายณ์

“ที่สำคัญไปกว่านั้น พระพุทธโฆษาจารย์รูปนี้ก็เดินทางไปลังกา ภายในพระตำหนักชั้นบนมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เลือนเต็มทนแล้ว บอกเล่าถึงประวัติของท่าน”

รศ.ดร.ปรีดีเกริ่นก่อนนำขึ้นพระตำหนักไปชมภาพจิตรกรรมที่น่าสนใจในแต่ละจุด รวมทั้งชี้ให้ดูผนังด้านหนึ่งเหนือบานหน้าต่างเขียนภาพไตรภูมิ เชื่อว่าแต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป

“ไฮไลต์ของภาพที่อยากให้ชมกันคือ ภาพนางรำที่ถือเป็นแม่แบบการรำของอยุธยา ที่จะพัฒนาต่อมาเป็นแม่บทของท่ารำในปัจจุบัน

“บนตำหนักนี้สำคัญมาก ถ้าเราไม่ขึ้นมาชม เราก็จะมุ่งไปที่ม่านอาคมกับมนต์กฤษณะกาลี” วิทยากรของทริปบอกพร้อมกับรอยยิ้ม และฝากย้ำเพื่อเป็นการตอบคำถามของผู้ที่สงสัยหลายๆ คนว่า วัดพุทไธศวรรย์ที่เห็นในละครมีสถานที่ซ้อมการต่อสู้ฟันดาบนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสำนักดาบพุทไธสวรรย์แต่อย่างใดเพียงแต่ชื่อมาพ้องจึงกลายเป็นแบรนด์ของสำนักดาบไป
ปริศนาพระปรางค์วัดไชย

หลังจากเดินเที่ยววัดพุทไธศวรรย์ พิสูจน์ม่านอาคมแล้วก็มาถึงเป้าหมายสุดท้าย สถานที่เหมาะแก่การเก็บภาพยามอาทิตย์อัสดงเป็นที่สุด

“วัดไชยวัฒนาราม” สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยนำคติเขาพระสุเมรุกับแผนผังของปราสาทนครวัดมาเป็นต้นแบบ และดัดแปลงให้มีรูปแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร

“ที่นี่ถือเป็นอีกจุดยุทธศาสตร์สำคัญของอยุธยา ซึ่งจะสัมพันธ์กับตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 ครั้งนั้นพื้นที่ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ‘วังหลัง’ ไปแล้ว คือฝั่งที่อยู่ในพระนครแต่อยู่ทางทิศตะวันตก เป็นจุดที่พม่าต้องตีวังหลังให้ได้ และตีฝั่งตะวันออกคือวังหน้า ซึ่งถ้าจะตีวังหลังให้ได้ก็ต้องตั้งทัพที่ริมขอบพระนคร ฉะนั้นวัดริมน้ำเจ้าพระยาตั้งแต่วัดท่าการ้องลงมาจนถึงที่นี่จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ต้องรบกับพม่ามาตลอด วัดไชยวัฒนารามก็เป็นค่ายที่พม่าใช้ตั้งอาวุธยิงเข้าไปในกำแพงเมืองพระนคร” รศ.ดร.ปรีดีบอก

ต่อข้อสงสัยที่ว่า พระปรางค์วัดไชยวัฒนารามที่ปรากฏในละครเรื่องดังนับตั้งแต่แวบแรกที่เกศสุรางค์ในร่างแม่หญิงการะเกดมองเห็นเป็นสีทองอร่าม เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่


รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี

รศ.ดร.ปรีดีบอกว่า ต้องยอมรับว่าผู้ประพันธ์เรื่องมีการค้นคว้าพอสมควร เพราะถ้าดูบนยอดปรางค์จะเห็นรูพรุนเต็มไปหมด

“รูพรุนเหล่านั้นเกิดจากการตรึงตะปูสังฆวานร โดยเอาแผ่นโลหะที่ปิดทองคำเปลวทาบบนผิวของพระปรางค์ก่อนจะตรึงด้วยตะปู ซึ่งแผ่นโลหะที่ว่านี้เรียกว่า ‘แผ่นทองจังโก’ ทำให้พระปรางค์วัดไชย ประหนึ่งปิดด้วยทองคำเปลว เราจึงเห็นร่องรอยที่เป็นรูพรุนทั่วพระปรางค์ ซึ่งพบเฉพาะปรางค์องค์ใหญ่ และปรางค์องค์เล็กที่อยู่สี่ทิศ โดยรอบเป็นปูนสีขาว”

วัดไชยวัฒนารามเป็นจุดสุดท้ายของทริปตามรอยบุพเพสันนิวาสที่อโยธยา

สำหรับออเจ้าที่พลาด ยังมีรอบ 2 จัดขึ้นเฉพาะกิจตามเสียงเรียกร้อง ในวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2561 ยังสามารถสำรองที่นั่งเข้ามาได้ที่ โทร 08-2993-9097, 08-2993-9105 บอกก่อนว่า ต้องด่วนจี๋ เพราะที่นั่งมีจำกัดเต็มที

พาไปทัวร์ตามรอย ละครบุพเพสันนิวาสกับมติชนอคาเดมี

ย้อนรอยประวัติศาสตร์อยุธยาแบบมันส์หยดกับ “รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี” งานนี้ไปทั้งวัดไชยวัฒนาราม, ดูโบราณวัตถุล้ำค่าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา, ยลวัดพุทไธสวรรย์ ล่องเรือสัมผัสบรรยากาศแม่น้ำเจ้าพระยา และอีกเพียบ!

กำหนดเดินทางวันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคมนี้ (รอบแรกจองเต็มแล้ว) ***เปิดรอบ 2 อีกครั้ง วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม*** ในราคา 2,200 บาท ใครสนใจรีบจองเลย รับจำกัดจำนวน 40 คนเท่านั้น!!! งานนี้ #ไม่มาถือว่าพลาด
หมายเหตุ : แต่งตัวตามสะดวก , ชุดไทย , ชุดสบายๆ

ตารางทัวร์ ดูละครบุพเพสันนิวาส ดูประวัติศาสตร์อยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วิทยากร รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี

พบกัน วันอาทิตย์ 25 มีนาคม 2561

07.00 น. ลงทะเบียน รับของที่ระลึก และรับอาหารเช้าที่มติชนอคาเดมี

08.00 น. ออกเดินทางย้อนเวลาสู่กรุงเก่า ตามรอยฉากละครพร้อมฟังเรื่องเล่าจากละคร “บุพเพสันนิวาส” จ.พระนครศรีอยุธยา

09.30 น. ถึงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ภายในรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุอันล้ำค่า เช่น เศียรพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่จากวัดธรรมิกราช รวมถึงเครื่องทองคำโบราณที่ค้นพบภายในกรุวัดราชบูรณะและกรุวัดมหาธาตุ เป็นต้น ที่สำคัญอาคารจัดแสดงของที่นี่ถูกใช้เป็นฉากห้องเรียนโบราณคดีของเกศสุรางค์ นางเอกของเรื่อง และเรืองฤทธิ์ เพื่อนสนิทของนางเอก

10.30 น. เดินทางต่อไปยัง วัดบรมพุทธาราม

10.40 น. ถึงวัดบรมพุทธาราม วัดโบราณที่มีกล่าวในพระราชพงศาวดารว่าสร้างในบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระเพทราชา ชมเจดีย์ทรงปรางค์ที่มีเอกลักษณ์ และพระอุโบสถที่ยังมีร่องรอยจิตรกรรมหลงเหลือให้เห็นอย่างเลือนลาง จากนั้นชม สะพานบ้านดินสอ สะพานอิฐที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด บริเวณนี้เป็นย่านการค้าเครื่องเขียนประเภท “ดินสอ” ที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยา โดยบริเวณนี้ได้ถูกกล่าวถึงในตอนที่แม่หญิงการะเกดได้มาซื้อสมุดไทยและดินสอศิลาขาวกับพ่อเดช พระเอกของเรื่อง

11.30 น. เดินทางต่อไปยัง ป้อมเพชร

11.40 น. ถึงป้อมเพชร ตั้งอยู่บริเวณเป็นจุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ถือได้ว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในเรื่องนั้นถูกใช้เป็นฉากที่เกศสุรางค์ในร่างของแม่หญิงการะเกด ได้นั่งอยู่บนเรือกับพ่อเดช พระเอกของเรื่อง และได้โบกมือทักทายให้กับบรรดาทหารบนป้อม

12.20 น. รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านบ้านวัชราชัย (อาหารสำรับไทยแบบโบราณ)

13.20 น. เดินทางต่อไปยัง วัดธรรมาราม

13.30 น. ถึงวัดธรรมาราม วัดสำคัญนอกเกาะเมืองริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งค่ายของกองทัพพม่าในครั้งก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เนื่องจากเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สามารถควบคุมการสัญจรทางน้ำได้ โดยที่นี่ได้ถูกใช้เป็นฉากของวัดที่ตัวละครต่างๆเข้าไปทำบุญ จากนั้นเข้าชม พิพิธภัณฑ์พระอุบาลีมหาเถระ ตั้งในบริเวณวัดด้านในจัดแสดงประวัติและการเดินทางไปยังลังกาเพื่อสืบทอดพุทธศาสนาของพระอุบาลีมหาเถระ พระธรรมทูตในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนกำเนิดเป็นพุทธศาสนาแบบสยามวงศ์ในลังกาที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

14.30 น. ลงเรือชมโบราณสถานต่างๆระหว่างทาง พร้อมทั้งสัมผัสบรรยากาศของแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นขึ้นฝั่งที่ท่าวัดพุทไธศวรรย์

15.30 น. ถึงวัดพุทไธสศวรรย์ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ในบริเวณเดิมที่เคยเป็นพระตำหนักเวียงเหล็กที่ประทับของพระองค์ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา โดยที่นนี่ถูกใช้เป็นฉากที่เกศสุรางค์ในร่างของแม่หญิงการะเกด ได้เข้าไปสำนักดาบของวัดแห่งนี้ และได้พบกับพ่อครูชีปะขาวผู้ที่รู้ว่าแท้จริงแล้วเธอคือใคร และยงได้มอบมนต์ที่ใช้กำบังกายหายตัวให้กับเธออีกด้วย

16.30 น. เดินทางไปยัง วัดไชยวัฒนาราม

16.50 น. ถึงวัดไชยวัฒนาราม ตั้งอยู่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกของเกาะเมืองอยุธยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโดยนำคติเขาพระสุเมรุกับแผนผังของปราสาทนครวัดมาเป็นต้นแบบและดัดแปลงให้มีรูปแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งที่วัดแห่งนี้ถูกใช้เป็นฉากในหลายๆตอนของละครเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่เกศสุรางค์และเรืองฤทธิ์ไปเก็บข้อมูล เป็นต้น

18.00 น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ

19.30 น. ถึงมติชนอคาเดมี โดยสวัสดิภาพ

***กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า***

สนใจติดต่อ :

Tel : 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
inbox facebook : Matichon Academy
line @m.academy

#MatichonAcademy #TourAcademy